
สินเชื่อOD หรือ วงเงินเบิกเกินบัญชี
OD หรือ OverDraft แปลตามศัพท์ มันคือ การเบิกเงินเกินบัญชี
เป็นการปล่อยเงินกู้ ของสถาบันการเงินอีกแบบนึง โดย การปล่อยกู้ชนิดนี้ จะอิงกับการใช้บัญชีกระแสรายวัน หรือ บัญชีใช้เช็คปกติ บัญชีกระแสรายวัน เราใช้ได้ตามเงินในบัญชี ที่เราฝากอยู่(มักไม่ได้รับดอกเบี้ยด้วย) ใช้ได้จนหมดเงินที่เอาไปเข้าไว้ในบัญชีถ้าหมด เราจะใช้ต่อไม่ได้ ตีเช็คไปเช็คก็เด้งแต่บางครั้ง ในการทำธุรกิจ บางที มีช่วงขาดเงิน บ้างระยะสั้น ดังนั้น จึงมีการขอเงินกู้เกินบัญชี หรือ OD นี้ไว้ จะทำให้เกิดการคล่องตัวขึ้น เช่นตอนขาดเงิน หรือ ต้องการใช้เงิน กระทันหัน เกินกว่าที่เงินในบัญชีมีอยู่ เรา ก็สั่งจ่ายเช็คได้เลย เงินส่วนที่ใช้เกินนี้ ก็จะขึ้นในบัญชีเป็นเงินที่เราค้างชำระ(หรือ ชอบเรียกกันว่าตัวแดง) ธนาคารจะคิดดอกเบี้ย เฉพาะส่วนที่ใช้นี้ ตามจำนวนวันที่ใช้ ถ้า เรามีเงินแล้ว ก็เอาไปเข้าบัญชี กลบตัวแดงนี้ หมดไป ธนาคารก็หยุดคิดดอกเบี้ยเราหรือถ้ากลบไม่หมด แต่ยอดตัวแดงลดน้อยลง ก็จ่ายดอกเบี้ยน้อยลงไปตามยอดนั้น ในแต่ล่ะวัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการใช้เงินเกินบัญชี เราจะใช้ได้ รวมกันแล้ว คงค้างได้ไม่เกิน วงเงิน OD ตามที่ได้รับอนุมัติ เช่นได้รับไว้ 5 ล้าน จะใช้ได้ ไม่เกินนี้ ถ้าเกินกว่านี้ ธนาคาร ก็จะปฏิเสธการจ่าย เช่นกัน โดยทั่วไป ดอกเบี้ย ของ OD มักจะสูงกว่า ดอกเบี่ยของ การปล่อยกู้ ปกติแบบมีกำหนดเวลา (LOAN ) ทั้งตัว MLR และ MRR เล็กน้อย แต่ทังนี้ทั้งนั้นขึ้นกับ ลูกค้าแต่ล่ะราย และเงื่อนไขการค้ำประกัน
ถามว่า ทำไง ถึงขอ OD ได้ ?
ตอบว่าขึ้นกับความน่าเชื่อถือของธุรกิจ และหลักทรัพย์ค้ำประกัน บางคนใช้หลักทรัพย์ หรือธุรกิจค้ำประกัน แต่บางคน ใช้บัญชีเงินเงินฝากประจำ ค้ำ OD ก็ได้(และมักได้ดอกเบี้ยต่ำกว่า OD ที้ใช้ หลักทรัพย์อื่นค้ำ)
ถามว่า ถ้าดอกเบี้ยมันสูงกว่า เงินกู้ชนิดอื่น ทำไม ไม่กู้เงินแทน การใช้ OD?
ตอบว่า ถ้าเป็นการใช้เงินติดต่อกันยาวๆ เป็นหนี้ยาวๆ ใช่เงินกู้ แบบ Loan ดีกว่าดอกถูก
แต่สำหรับ OD มันคล่องตัวกว่าเหมาะกับ การกู้ระยะสั้นๆ พอมีเงินปิดกลบ ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ตลอดเวลา คือเสี่ยดอกเบี้ยเฉพาะตอนที่ใช้ไป และ เท่ากับจำนวนที่ใช้ไปเท่านั้น
เช่นมีวงเงิน 5 ล่าน แต่ใช่ ไปแค่ 5 แสน สิบวัน ก็เสียดอกเบี้ย เท่ากับเงินต้น 5 แสน เป็นระยะเวลา 10 วันเท่านั้น และถ้าสมมุติ หลังจาก ติดตัวแดง 5 แสน ไป 10 วัน แล้วเราเอาเงินไปเข้าบัญชี 3 แสน ค้างอีก 2 แสน ไปอีกห้าวัน ก่อนเอาเงินไปเข้าปิด 2 แสนที่เหลือ อย่างนี้เราเสี่ยดอกเบี้ย 5 แสน 10 วัน กับ 2 แสน อีก 5 วัน เท่านั้น
ถามว่า แล้วคนมี เงินฝากประจำ แสดงว่ามีเงินอยู่แล้ว จะเอาไป ค้ำ OD ใช้ OD ให้เสียดอกเบี้ยทำไม?
ตอบ บางคน นานๆจะใช้ OD ซักครั้ง ครั้งล่ะสั้นๆ ดังนั้น สมมุติตัวเองมีเงินสด อยู่ 1 ล้าน ฝากประจำได้ดอก 3% ได้ดอกเบี้ยปีล่ะ 30000 บาท
ถ้าเอามาฝากออมทรัพย์ไว้ เผื่อฉุกเฉิน จะได้เอาออกมาใช้ได้ ได้ดอกเบี้ย 1.5% ปีล่ะ 15000 บาท ส่วนต่างดอกเบี้ย กรณี ไม่ได้ใช้เงินก้อนนี้เลยคือ 15000
แต่ถ้าใช้ฝากประจำแล้ว เปิด ODขอ สินเชื่อนี้ไว้ สมมุติ อัตราดอกเบี้ย แบ็งค์คิด 9%
ถ้าใน 1 ปี เราใช้ เงินเกินบัญชี 3 ครั้ง ครั้งล่ะ 100000 บาท ครั้งล่ะ 5 วัน เราจะเสียดอกเบี้ย ครั้งล่ะ เท่ากับ 100000 X 9/100 X 5/365 วัน X 3 ครั้ง รวมเสียดอกเบี้ย 369 บาท เท่านั้น ส่วนต่างของดอกเบี้ยประจำ กับ ออมทรัพย์ที่เราฝากไว้ ได้ 15000 มากกว่าดอกเบี้ยที่จ่าย OD ตรงนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้น เราต้องประเมินดูว่า เราใช้ OD มากน้อย แค่ไหน คุ้มหรือไม่ ถ้าใช้แบบติดตัวแดงตลอดยาวๆ อย่างนั้น ถอนเงินฝากประจำออกมากลบไปดีกว่า